ไขว่ห้าง (๘๔๔)

ไขว่ห้าง น.
คือชื่อนามบอกลักษณะ อาการนั่ง อาการนอน ชนิดหนึ่ง บอกเป็นอากัปกิริยาที่คนพักขา ชันขา ยกเข่าแล้วซ้อนขากันเข้ามาแบบตัวเลขสี่ ให้ขาขัดกัน หรือไขว้ชิดกันไว้ บนที่นั่งหรือที่นอนนั้น ๆ คือแต่ก่อน เมื่อลองคิดตาม เห็นว่า คำอาจจะว่าเปรียบ การขัดฝาห้าง ทำกระท่อม หรือห้างนา หรือที่ทำการจักสานไว้สำหรับเครื่องใช้ สำหรับที่พัก ฉะนั้น, ต่อมา ดังนั้น เมื่อเรียกบอก อธิบายอาการตอบกัน ว่านั่งนอนเห็นเป็นอย่างไรบ้าง ทำอะไรอยู่ ถึงตอบว่า “นั่งขาไขว่ห้าง นอนขาไขว่ห้าง” คือ คนนั้น นั่งโดยการซ้อนขาขัดไขว้กันไว้ ศัพท์จะเป็น ไขว้ หรือไขว่ เสียงเอกเสียงโท ฟังใกล้ ๆ กัน เมื่อพูดติด ๆ ฟังยากนัก ว่าไขว้ห้าง หรือ ไขว่ห้าง เดี๋ยวนี้ถึงว่า “ไขว่ห้าง” เพราะต่างคิดเห็นกันมากแล้วว่า คงเป็นเสียงไม้เอก
ตัวอย่าง -
ตัวอย่างนั้น ยังพอมีบ้าง จากหอพระสมุดฯ อย่างตำราช้างภาคที่ ๑ นั้น นุ่งผ้า, ว่า “โจงกระเบนริมขวาแล้วโจงกระเบนริมซ้าย แล้วจึงจัดกลีบเหน็บไขว้ทับพก...” คือว่า เห็นแต่ไขว้ ส่วนคำว่าไขว่ เหมือนจะว่าแต่ทำนองวิ่งไขว่ อย่างขวักไขว่ นั้น

0 comments:

แสดงความคิดเห็น