ลิงค์, และ ลิงก์ (๘๒๑)

ลิงก์ (อ. Link) น.
คือที่แสดง กิริยาการประสาน, เกี่ยวโยง, เชื่อมโยง หรือ ที่ไขความ โยงกันไปเป็นทั่วไป แปลว่า จุด หรือแถบข้อความ ที่เชื่อมโยงไปกับข้อมูล ถึงข้อมูล ระหว่างกันนั้น แล้วคลิกคำสั่งด้วยอุปกรณ์ ที่จุดลิ้ง หรือแถบลิ้ง นั้น  ตามตัวภาษาอังกฤษ ว่า link (ลิงก์ อ่าน ลิ้ง) ดังนี้ หากจะว่าอย่างไทย ควรเขียนแต่ว่า ลิงก์ (ว่า ลิง ก การันต์) อ่านว่า ลิ้ง อย่างนี้จะดีกว่า เพื่อให้เป็นที่รู้แน่ว่า ไม่ใช่การทำเพศให้ต่างกันของศัพท์ตามคำศัพท์ ซึ่งต้องเขียนว่า ลิงค์ (ลิง, ลิง-คะ) ตามการทำเพศ หรือการนับไปตามกำหนดเพศ ตามแบบกระบวนวิธี ด้วยเกณฑ์ของหลักภาษา ที่ดี มีแต่เดิม อันซึ่งมีแบบแผนชัดแจ้ง มาอยู่ก่อนแล้ว เป็นนามคำชื่อบอกกำหนดค่า นับค่า จะเขียนถึงอะไร ๆ มีอยู่แล้ว ฉะนั้น ถึงควรเราจะขอไว้ว่า ที่สุด ศัพท์บัญญัติ เช่นนั้น สำนักราชบัณฑิตเอง อย่าได้ให้ใครเขียนไป จนได้เป็นจริงเลยเด็ดขาด ว่า คำว่า “ลิงค์!” (Link=ลิงค์ ไม่ถูก), เพราะว่า จะอ่านถูกว่า ลิ้งค์ ไปได้อย่างไร? เพราะเทียบกับ คำว่า ลิงค์! ที่ถูกคือ ลิงคะ, ลิงค์ (อ่าน ลิง) อิตถีลิงค์ นปุงสกลิงค์ และ ปุงลิงค์ ตามแต่ศัพท์ที่เป็นวิธีเป็นมาฉะนั้น, ลงที่จะเขียน จึงไม่ควรเขียนว่า ลิงค์ ว่าหมายถึงที่ อันเป็นแถบ หรือจุดข้อความ ที่เชื่อมโยงข้อมูลกัน เพราะดูจะเป็นการทำลายบัญญัติศัพท์ อันดี อันเดิม อันถูกต้อง อันมีแน่นอนอยู่แล้ว หากจะเขียนหมายถึงศัพท์ภาษาอังกฤษคอมพิวเตอร์ นั้น ว่า Link เราควรเขียนว่า ลิงก์ จึงจะให้ความหมายไปทางที่ถูก ได้ดียิ่งกว่า และที่แน่ ๆ ตัว เค (k) ก็ต้องว่าเป็น ก ไก่ ไม่ใช่ ค ควาย ส่วน ตัว เอ็น (n) เข้ามาสะกด เป็นทางจะเหลือคำ กร่อนหรือเลื่อนเข้ามาอยู่ ไม่มีตัว เค (k) ก็ยังว่าได้ทางสะกดอยู่ แล้ว เพราะว่า ตัว เอ็น (n) หรือ ตัว เอ็ม (m) เข้ามาสะกด ให้อ่านเป็นเสียง เอ็นจี (ng) ได้ ตามความนิยม และเข้าใจรู้ศัพท์มากหลายภาษามากขึ้นแล้วในยุคนี้ เพราะบางคนก็อ่านอย่างญี่ปุ่น (n ว่าเสียง ng) หรือไม่บางคนก็คิดอ่านอย่างอักขระวิธีมคธ (m ว่าเสียง ung) ซึ่ง ตัว ค การันต์ คำสะกดมา เป็นแต่หน้าที่จะให้ลด หรือหายไป หมดกำหนดแล้ว (Link=ลิงก์ จึงพออนุโลม ว่า ถูก), ฉะนั้น จึงควรที่จะสนใจแค่ว่า รังแต่เราแก่การจะใส่ ตัว “ค การันต์” ฉะนั้น จะวกเวียน จวนคิดจวนทำเข้ามา เขียนไป ก็จะเป็นแต่การให้คำศัพท์ฉะนั้นเข้ามา กระทำให้เข้าใจผิด ยิ่งตนเองยอมจะเขียนตาม ก็ยิ่งเหมือนว่า เป็นการยินดี ที่จะทำลายศัพท์บัญญัติเดิม ซึ่งจัดว่า เป็นของดี ของแท้ ตามที่ปราชญ์ผู้แสดงประโยชน์ตกลงแต่งตั้งกันไว้ตั้งแต่เนิ่นนานมาแล้ว ให้เสีย ในการจะทำ“ลิงคะ” ด้วยการทำเพศศัพท์ให้ต่างกัน ก็พาลจะเข้าใจสับสนผิดพลาดจากกันไปหมด เพราะบอกประโยชน์ในการณ์ไม่ใช่เช่นนั้น ด้วยคำแบบเดียวกัน

0 comments:

แสดงความคิดเห็น