ทาสี ทาสา (๗๙๒)

   ทาสี ทาสา น.
   ด้วยกับบท พระกถาจารย์ สรุปความนี้ ว่า ทาสา ทาสี ยกมาแล้ว ก็คือ “ตัวทาสเกิดภายในเอง คือเรือนทาสนั้น และทาสไถ่มาด้วยทรัพย์ และทาสเป็นเชลย หรือที่ต้องตกมาถึงความเป็นทาสรับใช้ ก็ใช่”, เป็นต้น จากความบอกบทในทางหนักเบา ตื้นลึก กับเหตุ แก่การเป็นตัวเลก เป็นเลข เป็นตัวทาส เป็นคนรับใช้ คนตกต้อง เป็นไพร่ เป็นพลเกณฑ์, แต่ ไม่แค่การฉะนั้น เท่านั้น ความหมาย เฉพาะที่จริง ย่อมหมายถึงตัวตัณหาอารมณ์ ความอยากด้วย ว่าตัวเองต้องตกเป็นทาส!,
   ที่ควร พิจารณาอีก ร่างศัพท์ ว่า ทาส ได้แก่
   ความว่า ทาส! ก็คือ เฉพาะจะเป็นคนรับใช้เขา เมื่อตนตกเข้าเป็นผู้ถูกรับรอง ได้แต่การจะรับรองตนเข้ารับใช้ ทำกิจธุระ ประกอบการงาน ให้แก่คนแห่งทำเนียบศักดินา ทั้งปวง ตลอดว่านั้น ทำงานให้แก่คนของทำเนียบศักดินา ชื่อว่า ทาส!, เป็นอันจะต้องรับใช้ เป็นคนงาน เป็นพล ชนชื่อว่าทาส! มานับเพรงกาล เป็นจำนวนแห่งที่ แต่ต้องเข้าจำนนแก่กิจธุระ มอบตัวรับใช้แล้ว เข้ากันกับพวกไพร่ ให้ได้ถูกใช้ และรับรองให้ใช้ ตกเป็นทาสเขา ตามจำนวน ที่ต้องจำนน, เพราะว่าสติปัญญา ฉะนั้น คนเฉพาะตน เกิดมาเปรียบเทียบเป็นชาติวัวงาน เป็นโคงาน ประการจะออกทัพเป็นหน้าศึก ตรึกคิดจะเอาชัย กำชัยฉะนั้น ประเภทจำพวกคนเป็นทาสเขา ไม่คิดเห็นจะทำได้, ว่า จะบริหารชาติ ทำกำหนดการตลาดวาณิชก็ไม่เป็น โบราณถึงว่า “เป็นคนเกิดมาต่ำ!” เป็นวรรณะย้อมกับจิตใจ ให้ยอมจำนน ให้ตัวเองต้องค้าขายแรงงาน ด้วยอัตราเท่าชีวิต แล้วสละตนไปเลย ก็ได้, ท่านว่า ทาสจึงมีหลายประเภท บอกชื่อ เป็นไปตามจำนวนสินใช้ จำนวนของการไถ่ตัว ชื่องาน และการเข้าจำนำตัว หรือเป็นไปตามเกณฑ์ของทำเนียบศักดินาชื่อนั้น ๆ ที่ทาสได้ไปเข้าด้วยกันกับพวกไพร่ แล้วเป็นทางอันประสมกลมเกลียวกัน ก็จะได้ชื่อ เป็นทาสติดที่ ทาสติดหนี้ ติดตระกูล ไปตามชื่อนั้น ๆ, แล เขาต้องเรียกว่า “เป็นทาส” ตกเป็นทาส! ยอมเป็นทาส! ได้แต่รับรองตน เป็นทาส!เข้ารับใช้เขา เท่านั้น เหนื่อยหนัก! เพราะเป็นทาสเป็นชน เป็นคนที่ต้องรับ ต้องทำ ต้องระวัง! ตามฤทธิกำหนดแห่งศักดินา จะประกาศประกาศิต อันกำหนดลงมาแต่ทิศเหนือหัว แล้วตกแก่ความเป็นทาส, หากว่า ไม่ต้องพูดบอกอาการ อธิบาย พูดบอกแต่แค่ความหมายแล้ว “ทาส?!” ก็คือ คนรับใช้ ชื่อเรียกว่าบ่าวไพร่ คนโบราณมีศักดินาสูงขั้น ถือจำนวนกำหนดหลายอย่าง จะต้องมีเจ้านาย หากใครไม่ออกไปจากเกณฑ์กำหนด นั้น ตามบทของทำเนียบศักดินา ก็ไม่เป็นไท แล้วต้องอยู่เรียบร้อยไปตามบท ทาส! ตามเกณฑ์ ซึ่งรับใช้ฉะนั้น แล้วได้, ถึงต้อง เรียกว่า เป็นข้าทาส เป็นทาส, ตัวทาสหญิง เข้ารับใช้แล้ว เรียกว่า “ทาสี” ที่ใดทาสชาย ยอมตนไปตามการรับใช้แล้ว ก็เรียกว่า “ทาสา”, ความตามศัพท์ คำต้นเค้า ตัวว่าตกทาสแท้ ย่อมจะหมายความเอาตัวบริวาร ว่า คนเรา ใครที่ใดยอมตนรับใช้ แก่ สิ่งใด เรื่องใด ธรรมใด คน ๆ นั้น ก็ชื่อว่า เป็นทาสของสิ่งนั้น การณ์นั้น, และเดี๋ยวนี้ปัจจุบัน จะถือว่า เป็นคำหยามหมิ่นก็ได้ เพราะคำว่า ด่าเปรียบ ว่าคนสนใจทำแต่งาน ที่ใด ใครสนใจทำงานไม่โลเล หาเที่ยวเตร่ ทำเฮฮาอย่างไรอื่น ๆ ทำเล่น ๆ ไม่เป็น คนนั้น ย่อมถูกประณาม ว่า “ยอมแต่จะตกเป็นทาสเขา” แค่แต่เท่านั้น ที่จะทำ (อ้าง1)
   ที่ค้นจาก พจนานุกรมนี้ ผลการค้นหา “ทาส”
ทาส, ทาส-(๑)  [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่า ทาสสินไถ่, ผู้ที่เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง (ป., ส.).
(๒) น. ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอำนาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาสการพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน, ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาสความรู้. (ป., ส.).
ลูกคำของ "ทาส, ทาส-" คือ   ทาสทาน  ทาสน้ำเงิน  ทาสปัญญา
   ที่ค้นจาก การใช้งานศัพท์ คำว่า “ทาส” ในกลอนสมุดไทย และบทหนังสือทางวรรณคดี อาทิ เช่น โคลงกลอน วรรณคดี เจ้าพระยาพระคลัง, ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔, สุภาษิตสอนหญิง, ตามลำดับ ความว่า “...หนึ่งคนธรรพ์ก็เป็นทาสบาทมูล, ต่ำตระกูลดั่งกามาแกมหงส์. ถึงข้าพลัดภัสดามาเอองค์, ก็รักวงศ์เหมราชไม่แกมกา...” และ “...ถ้าได้เชลยมาเปนหลวงก็ดี ฤๅพระราชทานอาญาเปนอุกฤษฐโทษ ต้องริบราชบาทว์บุตร์ภรรยาแลทาสชายทาสหญิง ต้องตกเปนคนระบาทว์หลวง...” และว่า “...ข้าทาสโฉดชี้แจง, ของอันแสลงอย่ายิน, อย่ามักกินก่อนผัว. เอาตัวต่างทาสี...” เป็นต้นนั้น (อ้าง2)
   อ้างแหล่งที่มา
ที่อ้าง บอกอธิบายความ บันทึกคำอ้างอย่างเดียว ตามคำท่านอ้างดีแล้ว ขออ้างตามทุกแห่ง (อ้าง3)

0 comments:

แสดงความคิดเห็น