skip to main |
skip to sidebar
แดน น.
อธิบาย พบเห็นเพิ่มเติม ด้วยมีศัพท์ คำว่า “แดน” เห็นควรแต่น่าจะบอกเพิ่มเข้ามา ปรากฏ อยู่ในกลอนสมุดไทย และบทหนังสือทางวรรณคดี เป็นที่น่าฟังได้ อาทิ เช่นว่า โคลงกลอน บทละครเรื่องรามเกียรติ์, และคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม, ตามลำดับ ความว่า “...พระคุณใหญ่หลวงมหึมา, ดินแดนแผ่นฟ้าไม่เปรียบได้. ทุกวันตานี้ไม่เห็นใคร, ความชราเจ็บไข้ก็ยายี...” และว่า “...มีพระราชอาณาเขตรกว้างขวาง ทิศเหนือถึงแดนลาว ทิศใต้ถึงแดนแขกมาลายู ทิศตะวันออกถึงแดนเมืองเขมร ทิศตะวันตกถึงแดนมอญ มีเจ้าประเทศราช...” เป็นต้นนั้น ฟังเห็นคำศัพท์มา ว่า แดน! จนจะต้องรวมไว้สักแบบหนึ่ง ให้รู้ดี มากขึ้น (อ้าง3)
ผลการค้นหา “แดน”
ที่มาจาก พจนานุกรมนี้
แดน
น. เขต, พื้นที่ที่กำหนดไว้โดยตรงหรือโดยหมายรู้กัน, เช่น ชายแดน ลํ้าแดน, ถิ่นที่มีคน สัตว์ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งประเภทเดียวกันอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น แดนผู้ร้าย แดนเสือโคร่ง แดนกล้วยไข่ แดนโลกีย์, โลก เช่น สตรีใดในพิภพจบแดน ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์ (อิเหนา).
ลูกคำของ “แดน” คือ แดนสนธยา แดนแห่งกรรมสิทธิ์ แดนไตร
อักขราภิธานศรับท์ ของหมอปรัดเล ความดังนี้
แดน, แว่นแคว้น, แขวง, จังหวัด, เขตร, ถิ่น, ที่, คือแว่นแคว้น ฤๅเขตร์ นั้น, เหมือนอย่างเขาพูดกัน ว่า, เขตร์แดนเมืองไทย เป็นต้นนั้น
ตัวอย่างการใช้งาน พิจารณาความหมายเพิ่มเติม
ร่างศัพท์ ว่า แดน แปลว่า เขตของประเทศ ของสถานที่ บริเวณ, พื้นดินสถานที่ตรงปลายมีที่อยู่ เหตุนั้นตั้งขึ้น ว่า เขตแดน เป็นแดน หรือว่า อันที่ใจเกิดมาเป็นภพ เป็นภวะ มีสภาพ ก็ว่า แดน เช่นว่า แดนเกิด แดนโลก, ดินแดน แขวง เขตปกครอง ถิ่นที่ บริหารครอบครองอยู่ ว่าคือ แดน ว่านั้น (อ้าง1)
แหล่งอ้างอิง ที่อ้าง บอกอธิบายความ บันทึกคำอ้างอย่างเดียว ตามคำท่านอ้างดีแล้ว ขออ้างตามทุกแห่ง (อ้าง2)
1 comments:
ธรรมอันเป็นไปในกระแสแห่งมโนทวาร พาฉงน! เพราะแต่ก็กลัวจะพูดข้ามพูดขวางกัน ก็ด้วยเหตุหนึ่ง , คือว่า ย่อมถือว่ายังมิได้รู้มุข หรืออุบายตามที่ท่านจะชักพาไป นั่นเอง
ฉะนั้น ก็เลยต้องรู้สักอย่างหนึ่งก่อน สักทีว่า การกระทำตาม ลงไปด้วย ประเพณีแห่งอริยะ ก็คือการมีสัจต่อบทที่พึงควร จะพึงต้องเปิดเผยตนตามเป็นจริง ก็ย่อมควรกระทำด้วยประเพณีแห่งอริยะ ลงว่าจะทำอย่างไร? , คือว่าทุก ๆ ที่
แต่ซึ่งในทุกที่ สรรพสัตว์ทุกแห่งที่ ต่างก็ย่อมต้องเนื่องไปกับแดนมนุษย์ แล้วคำว่า‘เนื่องกัน’นี้เอง ฉะนั้น ที่สุดก็ย่อมจะต้องแปลว่าเป็นอันเดียวกัน ดุจเรื่องโลก หรือการที่เสพสูบเผาอากาศบริสุทธิ์นี้ ที่ซึ่งมีมนุษย์เราเสพร่วมกัน เพราะว่าทุกที่ จำต้องมาที่โลกมนุษย์
โดยอุปมา แล้วในทุกที่นั้น ๆ ที่ท่านเองก็จะต้องเนื่องกัน คือตั้งจองการเนื่องกันนั้น ลงมาที่มนุษย์ เพื่อว่าจะได้กระทำทุกอย่าง ผ่านมนุษย์สมบัติ แต่ที่ซึ่งมีคุณสมบัติ ต่ออรรถะ การณะ และความเจริญ เมื่อครั้งที่โลกมีธรรมใดอันเป็นไปในกระแสแห่งมโนทวาร ตามแต่ที่ต้องสถิตทุกกิจ ทุกการย์ ตามพระพุทธองค์
แล้วถึงเรื่องอย่างนี้นั้น ก็จำต้องมาดูกันด้วยเรื่องของความ แต่อันที่เป็นไปในกระแสแห่งธรรมารมณ์กันต่อไป เพราะว่าแต่ต้องมีใจก่อนเท่านั้น พวกเราจึงจะสามารถไปกระทำความเจริญ และทั้งยังสามารถสำแดงความประเสริฐต่อกัน แบบนั้นๆ ในแดนนั้นได้
แสดงความคิดเห็น