skip to main |
skip to sidebar
วัวงาน ว. หมายถึง โคงาน คำซึ่งว่า ทั้งโค ทั้งงัว ทั้งหมด พูดว่า “วัว”, คำซึ่งมีอาการเปรียบในวงจรของชีวิต เป็นดั่งนั้น เช่น วัวเนื้อ วัวขุน วัวนม วัวลาน วัวชน, และศัพท์ว่า “วัวงาน” หรือก็คือ “โคงาน” ดั่งนี้ เขาเรียกชื่อ พวกเป็นสัตว์เทียมอยู่กะไถ ไปอยู่กับแอก ประทุกต่าง แบกสัมภาระ ลากไม้ ลากเกวียน ไปทั้งหมด จบเป็นแต่การงาน บทจะเอาตัวไว้ ไปอย่างอื่นไม่ได้ วัว หรือโคชนิดนั้น ว่า “วัวงาน” หรือโคงาน, และศัพท์มักเรียก คนชนิดทำแต่งานก็ได้ ในคนที่ซึ่งหาเล่ห์กระเท่ ทำใจโลเล ไปเรื่องกิจกรณี อื่น อันนอกจากงานแล้ว ไปไม่เป็นเลย คนเขาก็จะเรียกเปรียบคน เช่นนั้น ว่าเป็นพวกวัวงาน “รอแต่จะกระทำการงานจนตาย” จะให้ทำอย่างอื่นย่อมไม่รู้ และไม่สนใจ, คำนี้ บ้างเขาก็ เปรียบไปเป็นการระกำใจ เป็นสิ่งน่าเศร้าแก่ตนเองก็มี ว่า ตนเองได้เป็นแต่แค่คนงาน กระทำแต่การงาน การที่จะได้ทำความสุขสวรรค์หรรษา อย่างอื่น ๆ อะไร ๆ ก็ไม่เคยจะได้ทำ ตนเป็นแต่วัวงาน หรือ“โคงาน” ฉะนั้น อยู่ตลอดทุกเรื่อง
ตัวอย่างการใช้งาน : ตัวอย่าง มีในโคลงโลกนิติ ความว่า “ ...รู้ดีดุรงค์ด้วย รณแรง รวดแฮ . . , รู้ว่าโคงานแข็ง เมื่อใช้ . . , โคนมเกษียรแสดง ดีเมื่อ รูดนา . . , รู้ว่าปราชญ์เปรื่องไซร้ เมื่อถ้อยคำแถลง... ” ตัวยังหาวนอ่านไปไม่พบที่อื่นได้กว่านี้ แต่ในพระไตรปิฎกบทบอกอรรถาธิบาย มีอยู่ เห็นมากรายการบ้าง มีความ ว่าคำศัพท์ฉะนั้น ดังนี้ “ ... เพราะเราเทียมโคงานคือความเพียร ที่ไถ คือปัญญา จำเดิมแต่ครั้งพระทศพลพระนามว่าทีปังกร... ” และว่า “ ...เขารับเอาโคงานและไถจ้างงาน ไป กล่าวกะภริยาว่า แม่นาง ชาวเมืองเล่นงานนักษัตรกัน... ” เป็นต้น
ที่มา : ที่อ้างอิงนั้น พบอยู่ในความหมาย จะควรไม่ต้องบอกมากแล้ว อธิบายอยู่, ถ้าปรากฏในชนชาวราษฎรเรา ประเทศไทยของเรา คนทั่ว ๆ รังแต่จะไม่ยอมเขียน ตามความแบบเก่า ๆ แก่ตัวเองจะอ้างไว้เท่าไหร่ อย่างไรซะ คำนั้นก็คงจะเลือน คงจะลบไป หาที่จะให้คนจดจำไม่พบ คงดีแต่ สำนักราชบัณฑิต ยังได้ให้รับแจ้ง ให้คนอาศัยงานเข้ามาสานต่อกับเครื่องมืออันที่ดี ประกอบแก่งานจำพวกภาษา มอบแก่คนสนใจใฝ่รู้, เช่นนี้ เรา ก็ควรเห็นทางจะรักษาไว้ได้บ้าง ด้วยต่อไปจากนี้, แล้ว ก็จึงจำต้องเพียร ต้องร้อยคำ นำมาเรียงไว้ บอกออกให้รู้ความ อันยิ่ง ๆ นับความตั้งแต่นี้ ให้มากยิ่งทุกคำ ต่อไป
0 comments:
แสดงความคิดเห็น