skip to main |
skip to sidebar
วาทกรรม น. ได้แก่ วาทะ กับ กรรม รวมกัน เป็นคำเดียว (วา-ทะ-กำ) แปลว่า ส่วนสัมพันธ์ ที่กระชับของศัพท์ หรือประโยค เมื่อเกิดการใช้คำ แล้วเรียกไปตาม วลี ตามบทที่ว่ากล่าวกันไป ตามพจน์ ตามพากย์บรรยาย หรือด้วยการที่ใครจัดเรียงประโยคในรูปแบบต่าง ๆ นั้น ให้จดจำง่าย กระจายออก หรือขยายแง่มุม ให้เห็นชัดยิ่งขึ้น แล้วกระทำให้กระชับแต่โดยย่อ ให้สั้นเข้า โดยคำศัพท์ หรือโดยตัวความหมายที่ไม่ผกผัน ไปจากมุมมองที่เป็นประโยชน์ ของประโยคอย่างนั้น ๆ ที่เรียกกันว่า ประเด็น! อันที่คนให้ยึดถือ ด้วยสัญญา หรืออาณัติสัญญา อย่างสำคัญไว้ได้ จากนั้นไป ถึงการเรียกขาน การอ้างถึง จึงจะเรียกว่า กรรม! อันควรซึ่งการกล่าวแก่วาทะ หรือกรรมชนิดนั้น ๆ ตามสิ่งที่ต้องประพฤติ อันจะ เป็นสิ่งควรแก่วาทะ ถึงเรียกว่า “วาทกรรม” เช่นนั้น จึงเป็นอันที่ซึ่งเกิดขึ้น เป็นอยู่ เป็นความแก่เหตุการณ์ หรือบุคคลผู้มีชื่อ (ผู้ที่อาจถูกเรียกขาน หรืออาจจะถูกกล่าวขานถึง), โดยตลอดแล้ว คำว่า วาทะ! ตามศัพท์คำว่า “วาทกรรม” นี้ อันชื่อ วาทกรรม ที่มีความสำคัญยิ่งใหญ่ ที่เป็นไป ตามความเป็นมาของชนชาติ ไทยเรา ก็คือ คำว่า “เถระวาทะ” นั่นเอง
ตัวอย่างการใช้งาน : ในเรื่องทั่วไป เช่น ประโยคอาจจะว่าไปดังนี้ ว่า “มีผู้คนกล่าวว่า สมณชาวอโศก มักจะอ้างวาทกรรม ของพ่อครู กล่าวแก่ บุคคลภายนอกสำนัก อันเป็นลัทธิอื่น ว่าเป็นพวกอวิชชาจริต ขาดความเข้าใจธรรมะ” จากตัวอย่างประโยคดังนี้ เฉพาะคำว่า “อวิชาจริต!” จึงจะเรียกว่า “วาทกรรม” แก่การที่คนใดจะกล่าวอ้างไปถึงแล้ว เข้าใจ เพราะว่าจะต้องว่ามาจาก จะต้องพูดมาจาก กรรมคือวาทะนั้น คือหมายถึง วาจาผู้พูด กล่าววาทะที่ได้อ้างวาทกรรมนั้นแล้วในตัว
ที่มา : รายละเอียดทุกท่านจงตรวจดูและพิจารณาอันที่เพิ่มเติมมาจากส่วนเสนอปรับปรุง (การเสนอปรับปรุง ครั้งที่ ๑ ของคำว่า “วาทกรรม”) ของผู้แนะนำ ชื่อ นางสาว ศุภวรรณ แสงภักดิ์ ที่อ้าง ราชบัณฑิต จินดารัตน์ โพธิ์นอก ด้วยกันกับ นสพ. ข่าวเดลินิวส์ ฉบับ 20 พฤษภาคม 2558 ได้ลงคำนี้ไว้
0 comments:
แสดงความคิดเห็น