คำรณ (๗๓๘)

คำรณ ว. คำรณ แปลว่า เสียงคำราม กระหึ่ม เร่งเสียง ว่าต้องรณรงค์เข้าร้อง ป้องปราม หรือว่าร้องจะปราบ ว่าอย่างไรแล้ว ได้ร้องประกาศให้เสียงดังขึ้น อย่างว่า อาการตัวชาติสัตว์ ตัวพญา ตัวผู้เป็นหัวหน้า ร้องสั่งจะเอาจริง บอกแก่บรรดาพลพรรค ไพร่พล ฉะนั้น เสียงกระนั้นว่า กระทำเสียงคำรณ ร้องคำราม การณ์จะว่าถาม ว่าตอบ รึว่า ทำทีว่าร้องสั่ง ก็เป็นที่ให้คนเกรง พลพรรคนั้นร่าเริงอาจหาญ ลิงโลดแล้วก็เอาด้วย ก็ได้ทำเสียงคำราม คำรณ ตอบความ ดังนี้ แปลว่า อาการทำเสียงคำรณ
ตัวอย่างการใช้งาน : ให้พบในคำพากย์รามเกียรติ์ ได้อยู่ และเรื่องสาวเครือฟ้า เช่นว่า “.... งามยามพิศหมู่พยุหพล, กำยำคำรณ. เขม้นจะราญอสุรา.” และว่า “ร้อยตรีพร้อมเห็นระบอบไม่ชอบกล, ขู่คำรณไล่ขรัวกลัวกลับไป ฯ ...” เป็นดั่งนั้น คำฉะนี้ เป็นคำที่จักชอบ แต่การณ์กะว่าคน กลับว่าเขียนไปผิด ก็อาจจะยังว่าได้ บอกให้เขียนแต่ คำรน!
ที่มา : จะอ้างอะไรกันแล้ว ดังนี้ หากไม่พบให้ต้องความพร้อมใจแก่กรรมดี ตีความอธิบายที่ถูก อาจเป็นแต่ชอบให้อุดอั้นตันอก รกอยู่ในอุรา และดวงหฤทัย วางคารมย่ำยี อย่าให้อ้างย้ำกระทำเกิน รั้งกลัวแต่ คำพูดดี ๆ จะมีมาก ปรากฏในหนทางอันยังอธิบาย บอกกันออกไปไม่ได้, เรื่อง คนก็จะเห็นแต่ว่า “คำรน” นั้น ถูก แต่! “คำรณ” ฉะนี้ เขียนคำผิด! หาจะใช่ ตอบแต่คนกล่าวคารมไม่เป็น ซ้ำแต่อ้างเข้าไปยึดถือความถูก ความผิด อันซึ่งเพียรแต่ความสรุปลงแล้ว ว่าชอบแต่ความชอบใจ ถึงแก่จะอ้างพจนานุกรมนั่นแหละ ว่าอย่างนั้นดี, แต่ว่า คำอีกอย่างเขารวมไว้ได้ความหมายดี อีกทั้งเหมือนว่าจะดีกว่าซะด้วย (คำ+รณะ) กลับว่าไม่ดี (แท้แล้ว คำว่า รน ไม่ค่อยดี) ตนว่าถึงแต่ความดีอันเดิม อันที่หากว่า จะว่าให้มาก แล้วก็จะดีแต่แค่ว่า ตัวเองคงจะไม่อยากดูแล แก้ไข ปรับปรุง หาสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูก มาเพิ่มเติมอะไร ๆ ให้อีกแล้ว

0 comments:

แสดงความคิดเห็น