skip to main |
skip to sidebar
มนตรา น. ความหมายเดียวกันอย่างคำว่ามนตร์ แต่พูดไว้ให้เป็นประมาณแห่งความสละสลวยมากๆยิ่งขึ้น ให้เป็นความไพเราะกลมกลืนกันทางสำนวน เช่นว่า “ธรรมะ ธรรมา มนตรา มนตรี มนตร์นั้นยังมี บทนี้มนตรา”
ตัวอย่างการใช้งาน : พบทั่วไปในประชุมปกรณ์ กลอน โคลง วรรณคดี และนิทาน ดังนี้. แม่จงเรียนมนตราบิดาไว้ แม้นได้แล้วแม่อย่าพึงพรั่น พอบ่ายชายแสงสุริยัน (ภาคที่ ๔ เรื่องเวตาลปกรณัม), ขอเชิญหล่อนเพทุบายร่ายมนตรา, ให้นักมวยล้วนมาญาติดีกัน. (โคลงกลอนของ ครูเทพ เล่ม ๒ ), ประกอบด้วยมนตรามหาเวท, ทั่วประเทศเกรงจบสยบสยอน. (เจ้าพระยาพระคลัง (หน) กากีกลอนสุภาพ), ผู้วิเศษผูกกัณหสับปะชาติคืองูเห่าใหญ่ด้วยมนตราคมอันกล้าขลัง (ราชาธิราช), ฯลฯ
ที่มา : โดยทั่วไป
0 comments:
แสดงความคิดเห็น