ประสพ (๑๕๙)

ประสพ ก. พบ ได้รับ ได้พบ (วิเศษ).
ตัวอย่างการใช้งาน : (จากประมาณกว่า ๔๐ ข้อความ)ในพระไตรปิฏก เช่น ย่อมประสพสิ่งเป็นสาระ .(สัญชัย) 40/153/4 คนพาล ย่อมประสพทุกข์ " (พระอุบลวรรณาเถรี) 41/215/13 ธาตุกำเริบ เคยประสพมา เทวดาดลใจ บุพนิมิต.(อ.ญาณวิภังค์) 78/640/21 เมื่อนั้น คนพาล ย่อมประสพทุกข์. แก้อรรถ...
ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับพิมพ์ ๙๑ เล่ม (“ประสพ” พจนานุกรมฯ นิยามว่า “การเกิดผล” และบอกที่มาของคำว่ามาจากภาษาสันสกฤตว่า “ปฺรสว” ซึ่งตรงกับภาษาบาลีว่า “ปสว” ในภาษาบาลี มีคำหนึ่ง คือ “ปสวติ” ซึ่งเป็นคำกิริยา เช่น ประโยคว่า สทฺโธ กุลปุตฺโต พหุํ ปุญฺญํ ปสวติ แปลเป็นไทยว่า กุลบุตรผู้มีศรัทธาจึงประสบบุญเป็นอันมาก ตัวอย่างที่ยกมานี้เพื่อแสดงว่า “ประสพ” มีหลักฐานการใช้คำนี้อยู่ แต่ยังหาตัวอย่างในภาษาไทยไม่ได้ ดังนั้น หากผู้อ่านท่านใดพบตัวอย่างการใช้คำนี้ ขอได้โปรดแจ้งให้ราชบัณฑิตยสถานทราบ เพื่อจะให้เก็บเป็นตัวอย่างของการใช้คำต่อไป (ราชบัณฑิต.))

0 comments:

แสดงความคิดเห็น