skip to main |
skip to sidebar
หวล ว. คิดระลึก ย้อนกลับไป วกกลับไป, อย่างหนึ่ง จะว่าหอมหวล นั้น ก็ว่า ความนี้แจ้งเค้ามูลบ้างแล้วครั้งหนึ่ง ไปแต่ รหัส ๑๓๙, แต่เห็นว่า คำเห็นจะเอี้ยว ศัพท์ลงความหมายได้ทั้ง ๒ ความ ๒ อย่าง, กระไรอยู่ แต่ความก็ไม่หนีกัน จึงว่า “หอมหวล” นั้น จะต้องเป็นลูกคำ หรือต้องแทรกลงไปอยู่ในความหมาย ที่ว่า เป็นสัมผัสอันระลึก กลับ หรือย้อน วกไปเห็นได้ด้วย หรือที่ว่า กลิ่นหอมเย้ายวน อบอวล อลวน ให้วนมาฟุ้งเฟื้อยไปในอากาศ หรือว่ามาแต่กระแสบรรยากาศอารมณ์ ฉะนั้น ก็พึงจะว่า ศัพท์ ว่า “หวล” นั้นได้
ตัวอย่างการใช้งาน : เช่นว่า “ใจให้รู้สึก อลวน อบอวล ไปอย่างมีกระแสทิพย์ ดั่งว่าพรรณนาไว้ ยลให้เห็นมาประทับอยู่ในจิตใกล้อัศจรรย์ ข้อความทางรสประสาท อันหวล หอมลงไปในกลิ่น ในรส อยู่มากแล้วนี้” อย่างหนึ่ง หรืออาจจะว่า คำโคลงกลอนให้คล้องจอง มีมาก ๆ ให้อยู่ในทางประพันธ์ เช่นว่า “กลิ่นสรรพางค์ ทุกนางรายล้อมหอมหวล สิ้นกลิ่นล้วน ทุก ๆ ที่ดุจมีศีล” (ผู้แจ้ง).
ที่มา : ที่ว่าแปลว่า คิดขึ้น ระลึกขึ้นย้อนกลับไป หวนคำนึง ว่าเวียน หวล รำลึกได้ ความว่าสติไปค้นไปจำ ก็อาจว่า เพราะคำนี้ ปรากฏมาแต่ในพระไตรปิฎก มี พบอยู่ไม่แปลกเลย และครั้งในคำนำเรื่อง มัทนะพาธา ก็ฉะนั้น ความหมายก็เห็นพบอยู่ อาทิ ว่าดังนี้ “...มาเมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๔๖๖, เมื่อได้บังเกิดมีเหตุบังคับให้ฃ้าพเจ้าต้องอยู่นิ่ง ๆ เงียบ ๆ, ฃ้าพเจ้าจึงได้หวลนึกขึ้นถึงเรื่องนี้.” แปลว่าอะไร ย้อนไปจำ เป็นกิริยาอาการเก็บ ไปนึก ไปคิด อยู่ แล้วในประชาชนราษฎรทั่วไปธรรมดา ๆ คนที่มักติดจะใช้คำนี้ (หวน ว่า “หวล”) ก็ได้มีอยู่มากบ้างน้อยบ้าง ถึงขอว่า ไม่ควรจะว่าลงเอย กล่าวว่าไปผิด ตามราชบัณฑิต ราชบัณฑิตก็จงอย่าว่า ใครคนไหนใช้ผิดเขียนผิดไปเลย ดูจะพาลเป็นแต่การแสร้งไม่เห็นวรรณกรรม ว่าตกเป็นของชาติไทยของเราอย่างไร เท่านั้นดอก จึงจะให้เห็นว่าผิด
0 comments:
แสดงความคิดเห็น