สยาม, สยัม, สยัง (๘๙๐)

สยาม, สยัม, สยัง ว.

หมายถึง คำนามวิเศษ บอกความเป็นผู้มีรัศมี ความให้กำเนิดโอภาสอันผ่องใสเอง ในตน หรือลุถึงความสำเร็จนั้น หรือเทพนั้น

 • เรื่องอันเป็นที แก่เทวดาอยู่บ้างก่อน แต่!ว่า ยกคำ นำคำอันอาจจะโยงที่มาไปคล้าย ไปหา ไปดูตามบทที่มีชั้นเชิงตื้นลึก แล้วตัวไม่อาจจะให้เข้าใจไปเท่านั้นได้ โดยที่เรา-ท่านก็รู้กันตามประสาของเราดังนี้ก่อน และว่าไม่ได้รู้ลึกรู้จริงอะไร ๆ แต่ครั้งจะให้เข้าใจแต่บททั้งหมดว่า “สยาม!” หรือสุยาม เป็นเทพท้าวขั้นสุยามา นั้น อาจจะไม่ใช่ที ไม่ทั้งหมดก็อาจเป็นได้ เพราะว่า มาแต่ “ยามา” นั้น เป็นชื่อสวรรค์ แปลว่า ไม่ลำบาก เติมคำว่า “สุ” หรือ “สะ” ลงไป “สุยาม” จึงแปลว่า หาความลำบากไม่มี อันหาใดเทียบไม่ได้ อันนี้ (ในเขตสวรรค์อันนั้น) แปลว่า เป็นลักษณะพฤติสภาพ แก่เทพสวรรค์ชั้นนั้น ๆ แล้วอาจให้ว่าต่อไปได้อีกว่า คงเป็นชื่อเทวาธิราช ของที่ นั้น ๆ, แต่! เรื่องนี้ที่คติ เรา-ท่าน ยังมิใช่ก่อน เพราะจะสรุปย่นลงจนแคบเสียทั้งหมด มิควร! และเพราะว่า คำศัพท์ คำว่า “สยาม” ดูที อาจไม่ใช่ และเพราะในชั้นสำคัญเรากล่าวแก่ศัพท์ “สยาม” อันหมายถึง “อินทะ” ซึ่งไม่เฉพาะจะมีตื้นลึกกว้างไกล ลึกล้ำเพียงน้อย แค่เท่านั้น ตามแต่อันที่ยังไม่ได้เกี่ยวข้อง คาบเกี่ยวแก่วารวาระวิสัย ไปถึงมรรค ออกไปถึงศาสนธรรมได้, และเพราะว่า เทพยามานั้น ฉะนั้นจะว่าเป็นเทพอินทร์ ไปในวงศ์ว่าน ย่านแขนง ในอินทร์ทั้งหมด ที่ตามไปแต่ท้าวสักกะ พงศ์เผ่าอินทราทิตย์นั้น ไม่ได้, และเพราะว่า สวรรค์อันเป็นเหตุสถิตทั่วไป ต้องว่าตกแก่บุคคลในศาสนธรรม และอริยบุคคลด้วย ยามานั้น สวรรค์จะน้อยเกิน หากเรา-ท่านจะหากล่าวมาเฉพาะแค่เท่านั้น, ต่อคำว่า “สยัม” กับ “สยัง” ควรว่าตั้งเป็นคำเดียวกัน แต่ “สยัม” เมื่อว่าถึงญาณได้มรรควิเศษ จึงว่า “สยัง” อันยังคติทางให้ตนไปสู่ คต (คะตะ,คด) คือ สุคต (สุคะตะ,สุ-คด) หรือแดนสุคติ อันปรากฏแน่ว่า มีสวรรค์เป็นเหตุทั่วไป
 • ต่อไปนี้ ก็จะพูดถึงคำว่า สยาม หรือ สยัม อันจะเป็นเหตุแก่คนในศาสนธรรมบ้าง ด้วยว่า คำว่า “สยาม” ฉะนั้น ท่านอย่าหาว่าเป็นเหตุเพียงน้อย จะเป็นแต่มีสวรรค์เป็นการทั่วไปและเป็นสภาพทั่วไป ได้ทั้งนั้น เมื่อยังตนจุติจากโลกนี้ไป และข้อนี้เท่านั้น จึงจะเกี่ยวกับคำว่า อินทร์ หรือองค์ สยาม, สยัม ที่เป็นพระอินทร์ (ผู้มีรัศมี และโอภาสอันผ่องใสในตน), จากคำสอนที่ว่า “ไม่ทำบาปเอง ไม่ใช้ให้คนอื่นทำบาป จำศีลอุโบสถอยู่ มีจิตเลื่อมใส ให้ข้าวน้ำ บำรุงเลี้ยงภิกษุสงฆ์ กตัญญูบิดามารดา ประกอบการค้าอันชอบธรรม ไม่ประมาท ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดา อันมีชื่อว่า “สยัมปภา”, ดังนี้ อย่างนี้ ถึงว่าไม่ทั่วไป หรือว่าเพียงน้อย ตามอันที่ไม่ถึงเหตุแก่การสถิตศาสนาธำรงคำสอน อันที่เป็นไปถึงสุคติ พระสุคต, แต่เราท่านพึงต้องว่าถึงความจริง ของคำว่า “สยาม!” หรือ “สยัมปภา” ดังนี้ ไว้ให้ได้ด้วย เพราะจะเข้ากับคำว่า “สยาม” ที่เป็น “พระอินทร์” นั้น ได้อย่างแท้จริง ที่จะต้องเวียนว่า แก่คน แก่หมู่ชนเป็นลำดับ ๆ ไป แก่ลำดับอริยบุคคลแต่ละขั้นไป (ซึ่งทั่วไปแก่สวรรค์) ที่ตรงไปถึงสยังคตญาณ อันจะให้สำเร็จกิจแห่งพระศาสนา ได้, เรื่อง พอกาลแต่จะว่า พูดมาคล้าย ๆ กัน คือ สยาม,สุยาม. และ สยาม,สยัม. แต่ว่าทีท่าตื้นลึกตามบทยิ่ง (มรรค-ผล) แก่ศาสนา อันหนึ่งไม่เข้าสนิท คำว่า สยาม (สวรรค์ยามา) ตามความจำกัดแค่ว่าในเขตแดนสวรรค์ จะว่าใช่อินทร์หรือก็ไม่ใช่ ก็ต้องไม่ใช่ แต่พอเป็นส่วนหนึ่ง แต่ว่าถึงพระอริยะ (อินทร์ที่เป็นอริยะ) คือท้าวสักกะ เปรียบว่า ได้สยัมภูตด้วย คืออุปมาว่า ได้ดำเนินเข้าสู่ทางสุคต (มรรค) แล้วก็ว่าได้ จึงเป็น “อินทะ” ที่ชื่อว่า “สยัมปภา” พวกหนึ่งด้วย ซึ่งว่า จะต้องกล่าวเปรียบว่า เป็น สยามินทร์ เป็นเทวาธิราช เป็นจอมบดี ท้าวสักกะ องค์อินทร์แห่งแดนสวรรค์ อย่างแท้จริง, ถึงที่สุดว่า คำว่า “สยัมปภา” ฉะนั้น พระคัมภีร์กล่าวแก่ ผู้ประพฤติคุณธรรมกล่าวแล้วนั้น ว่าเป็นเทวธิดา ก็มี
 • แต่นั้น เรา-ท่าน ว่าเทพยามาสวรรค์ นั้นจะด้อย ไม่ใช่! เขาไม่ใกล้ศาสนา ไม่ใช่! แต่อาจจะว่า คำว่า สยาม! (สุยาม) ไม่ใช่มีทางเดียว อันมีทางสวรรค์หรือทางโลกธรรม แค่ตามความหมายเดียว, แต่!คำศัพท์ว่าไปถึงขั้นเหตุแก่ตนอันจะถึงแดนอริยะ ฉะนั้น ก็มี สยาม! (สยัม,สยัง) อาจเป็นคำเดียวกันที่พยามจะสื่อให้ทราบกันมาตลอดกาลแล้วนี้ด้วย เพราะเหตุจะอย่างไรก็ช่าง ก็แล้วแต่ จากแดนโลก ไปถึงแดนสวรรค์ชั้นดุสิต ก็ย่อมไม่ได้จะกล่าวว่าเป็นที่อันจะไกลกันจากพระศาสนา, ฉะนั้น คำ!จะฟังอย่างไรก็ให้ใกล้ ๆ กัน แต่ความแต่ก่อนมา บทคนขี้คร้านพาลฟังไม่ออก ห่วงอธิบายกันยาก จึงออกจะให้ความหมายทางโลกไปเท่านั้น ไปก่อน ไม่ให้ใกล้ศาสนาเสียเลย แต่พอกาลเมื่อค้นคว้าพอรู้ด้วยบ้างแล้ว ในปัจจุบัน เรา-ท่านควรว่าไม่ควร จะตามแต่อันที่ไม่ว่าออกไปให้เห็น ในทุกแง่มุม

0 comments:

แสดงความคิดเห็น