ลมพาน, พาน (๘๘๑)

ลมพาน, พาน ก.

แปลว่า ลมอ่อน ๆ ลมพัดเบา ๆ พัดพริ้วขึ้นเฉพาะในที่หนึ่ง ๆ
“ลมพาน” วิเศษ ศัพท์คำนี้ คงหมายถึง ลมที่หมุนกวนขึ้น เข้าเวียนวน พริ้วมา อันพอที่จะทำให้เปลวไฟของเทียนหรือตะเกียง ฉะนั้น เต้นสั่น วูบไหว, คือคงจะหมายถึงลมอ่อน ๆ อันนั้น ๆ ที่พัดวูบขึ้น เคลื่อนมา เคลื่อนไป พริ้วอ่อน พัดโชยกระทบเข้ามาบ้างเป็นบางครั้งคราว จึงอาจจะว่า ลมระโรย ลมระย้า ลมรำพึงพัด รำเพยมา เห็นผ่าน เปรียบว่าไปดั่งนี้ ก็น่าจะใช่ เพราะว่าได้มีบรรยายอยู่ เช่นพบในพระไตรปิฎกว่า “..กระดิ่งต้องลมพานอ่อน ๆ ก็เปล่งเสียงไพเราะ, ..ประสบสุข ได้อยู่ในปราสาทที่ปราศจากลมพาน, และว่า ..เมื่อถูกลมพานไหวก็คล้ายครวญ คือว่า ลมนั้นเหมือนเสียงครวญ” ถึงในส่วนโคลงกลอน ก็มี ในสมบัติอมรินทร์ รามเกียรติ์ และลิลิตตะเลงพ่าย หรือวรรณคดีอื่น ๆ นั้น ก็มีบ้างพอสมควร ได้พบอยู่ แต่ยกพอเป็นตัวอย่างเบื้องต้น พอให้เห็น เช่นว่าดังนี้ “..เสาวรสส่งรสสุมามาลย์ ลมพานเลื่อนพวงลงร่วงราย, และ ..เสียทีเสียตัวด้วยลมหวาน เสียรู้เพราะหลงด้วยลมพาน, และว่า ..ปลิวประเล่ห์ลมพาน ส่ำแสะสารแสนยา,” เรา-ท่าน เมื่อพบ จงได้คิดพิจารณาแสดง ที่ได้พบเห็นไว้ตรง ด้วยกันบ้าง อย่างนี้. ว่าทุกคนอาจจะพอให้แปล ว่าเป็นอะไร แปลว่าอะไร? จึงควรจะชื่อว่า “พาน” หรือเรียก “ลมพาน” อันกระนั้น เพราะว่าการที่ได้พบแล้วมีอยู่ในหนังสือ ได้เห็นอยู่ตามธรรมดามีออกมาแต่ก่อนนั้น มีพอสมควร ถึงควรปรากฏจะมีคำแปลขึ้น, และเพราะว่า เราจะเห็นตามหนังสือของหอพระสมุดฯ หรือว่าเราจะเห็นตามพระไตรปิฎก อรรถกถาแสดง ก็มี ก็ให้เห็นว่ากล่าวแล้วอยู่ในทั้งสองทาง เห็นฉะนั้น แต่กลับจะให้ขาดอยู่ก็แต่กับพจนานุกรมราชบัณฑิตเท่านั้น ว่าขาดคำแปลให้อธิบาย แก่คำนี้ ขาดไปจะเสีย เรา-ท่านจึงจะให้เป็นอย่างนั้น ไม่ได้ 

0 comments:

แสดงความคิดเห็น